วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กล้วยหิน

กล้วยหิน


 
       กล้วยหิน ชื่อสามัญเขาเรียกกันว่า “Saba” ชื่อทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า “Musa (ABB Group) โดยมีแหล่งกำเนิด ณ สองฝั่งแม่น้ำปัตตานีเขตพื้นที่หมู่บ้านเรือขุด ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลากล้ายหิน เดิมเป็นพืชเก่าแก่คู่ 2 ฝั่งแม่น้ำปัตตานีโดยเฉพาะใขเขตตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา มีกล้วยหินขึ้นหนาแน่นเป็นดงกล้วยหินเลยทีเดียว คนนอกพื้นที่จากถิ่นอื่นเมื่อได้พบเห็นมักจะเข้าใจว่าเป็นกล้วยป่าที่งอกเจริญเติบโตขึ้นเองตามธรรมชาติเข้าใจเป็นกล้วยที่ไม่มีคุณค่าประโยชน์อันใด แท้ที่จริงแล้วกล้วยหินเป็นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นในอำเภอบันนังสตาเกษตรกรจะมีรายได้จากการปลูกกล้วยหินมาก ผลผลิตมีไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด จนทำให้ราคาผลผลิตสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากหวีละ 2-3 บาท เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ปัจจุบันราคาสูงขึ้นเป็นหวีละ 20-30 บาท
ทั้งนี้เพราะกล้วยหินใช้เป็นทั้งอาหารคน และอาหารนก โดยเฉพาะนกปรอด หรือ นกกรงหัวจุก ซึ่งชาวไทยมุสลิมในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส นิยมเลี้ยงกันมาเฉพาะจังหวัดยะลา เกษตรกรไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของครัวเรือนเกษตรกรทั้งหมด มีการเลี้ยงนกกรงหัวจุก เฉลี่ยครัวเรือนละ 2-4 ตัว โดยใก้กินกล้วยหินเป็นอาหาร เพราะกล้วยหินเป็นกล้วยที่มีลักษณะคล้ายกับกล้วยน้ำว้า แต่จะมีลักษณะที่แบน และเป็นเหลี่ยมกว่ามาก ปกติกล้วยน้ำว้าเราจะให้กินวันต่อวัน แต่กล้วยหินนั้นสามารถใส่ให้นกกินได้หลายวันโดยที่กล้วยไม่บูดเน่าเสีย นกกรงหัวจุกก็จะกินกล้วยหินตัวละครึ่งผลวันละ1-2 ผล ต่อครัวเรือน ฉะนั้นยะลาจังหวัดเดียว ซึ่งมีครัวเรือนเกษตรกร 48,071 ครัวเรือนใช้กล้วยหินเลี้ยง นกกรงหัวจุดวันละประมาณ 36,000 ผล หรือ 2,400 หวีต่อวัน
เหตุไฉนใครๆ จึงเรียกว่า “กล้วยหิน”จากการที่หลายคนวิเคราะห์ว่า เหตุที่ชื่อว่า “กล้วยหิน” นั้นเพราะว่ากล้วยหิน มีเนื้อแน่นเหนียวกว่ากล้วยอื่นๆ แต่ผู้เฒ่าหลายคนบอกว่ากล้วยหินที่พบครั้งแรกมักจะขึ้นบริเวณกรวดหิน 2 ฝั่งลำแม่น้ำปัตตานีซึ่งกล้วยอื่นไม่ชอบขึ้น ณ พื้นที่ดังกล่าวจึงเรียกกล้วยชนิดนี้ว่ากล้วยหิน จนปัจจุบันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น