วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กล้วยเล้บมือนาง

กล้วยเล็บมือนาง

ลักษณะทั่วไป ลำต้น ขนาดเล็กและเตี้ยกว่ากล้วยพันธุ์ทั่วไป กล้วยชนิดนี้คล้ายต้นกล้วยไข่แต่มีสีอมแดง

  ใบ ค่อนข้างแคบและสั้น ก้านใบมักชูกตรงขึ้น แต่เอียงเป็นมุมแยกห่างออกจากกัน สันของก้านใบส่วนล่างเป็นแถบสีแดง (กล้วยหอมจันทร์มีสีแดงทั่วทั้งส่วนล่างของก้านใบ)

  ผล
ของกล้วบเล็บมือนางมีขนาดประมาณนิ้วมือทั้งความยาวและกว้าง ปลายผลเรียว ผลเรียงติดกันคล้ายนิ้วมือ ผลค่อนข้างโค้งงอ เนื้อผลสุกแล้วหอมหวานคล้ายกล้วยหอมจันทร์ แต่กล้วยเล็บมือนางเนื้อแน่นมาก ชวนรับประทานมากกว่า และมีหน่อดกคล้ายกล้วยตานี

 


ต้นกล้วยเล็บมือนาง



กล้วยเล็บมือนาง








กล้วยเล็บมือนาง


นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย กล้วยเล็บมือนางนิยมปลูกกันทั่วไป
จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ลงไปทั่วภาคใต้ มีการนำไปปลูกภาคอื่นบ้าง
แต่ไม่มากนัก



ประโยชน์และความสำคัญ ผลอ่อน
ใช้แกงส้มแกงคั่ว แกงกะทิ ผลสุก
ใช้รับประทาน และสามารถแปรรูปเป็นกล้วยแช่อิ่ม และกล้วยตากน้ำผึ้ง ซึ่ง
มีสรพพคุณในแง่ของยาอายุวัฒนะ



กล้วยเล็บมือนาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น