วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กล้วยนาก



           กล้วยนาก
ชื่อพื้นเมือง กล้วยนาก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa sapientum L.
ชื่อวงศ์ MUSACEAE
ชื่อสามัญ Banana



ลักษณะวิสัย ไม้ล้มลุก
ลักษณะเด่น   ใบสีเขียวก้านใบสีนาก / ดอก คือ หัวปลี / ผล ออกเป็นเครือ เครือละ 7-8 หวี หวีละประมาณ 10 ผล
บริเวณที่พบ แปลงเกษตร อ. บุญลือ / หลังอาคารคหกรรม / บ้านพักครูประตูสาธารณสุข / เกษตรทฤษฎีใหม่
ประโยชน์

       ผลใช้รับประทานและทำขนม หัวปลีใช้ทำอาหาร ลำต้นใช้ทำอาหารสัตว ์ใบใช้ห่อขนม และต้นกล้วยใช้ทำยา





ภาพแสดงส่วนต่างๆ









กล้วยนวล



กล้วยนวลจัดเป็นพวกกล้วยป่า ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกอ โคนต้นใหญ่ ปลายเรียว ชื่ออื่นๆ มี กล้วยโทน กล้วยญวน กล้วยหัวโต กล้วยนวลขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด



ปลีกล้วยเป็นสีเขียว



กาบของปลีจะไม่หลุดล่วงเหมือนกล้วยชนิดอื่น ถึงแม้จะยืดยาวออกไปเพียงใดก็ตาม ลูกกล้วยจะซ่อนอยู่ใต้กาบปลีนี้จนกล้วยสุก



ผลกล้วยเมื่อสุกงอม จะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสหวาน (ถ้าไม่งอมจะฝาด)



ผลกล้วยมีเปลือกบางมาก เนื้อผลสีขาว มีเม็ดขนาดใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก



เมล็ดเหล่านี้เอาไปปลูกได้ คนส่วนใหญ่ไม่เพาะ แต่กินแล้วโยน เมื่อเม็ดงอกเป็นต้นแล้วจึงขุดย้ายไปปลูกในที่ที่ต้องการ เพราะการเพาะเมล็ดเอาแน่นอนไม่ได้ว่าเมื่อไรจะงอก บางครั้งเดือนเดียวก็งอก บางครั้ง ห้าหกเดือนงอกก็มี แล้วแต่สภาพดินฟ้าอากาศ ความเหมาะสม เรียกว่าแล้วแต่อารมณ์ก็ได้ ผมเคยเพาะในถุงดำ เพาะนานจนถุงขาดก็ไม่งอก เอาโยนทิ้งไป วันดีคืนดีเขาก็งอกขึ้นมาเอง
กล้วยนวลเจออากาศแล้งจะหยุดการเจริญเติบโต บางครั้งใบแห้งทั้งต้น แต่ไม่ตาย เข้าหน้าฝนเขาก็เจริญเติบโตได้ตามปรกติ

กล้วยนิ้วจระเข้


กล้วยชนิดนี้ เป็นพันธุ์โบราณพันธุ์หนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในเขตอัมพวา นิยมปลูกเฉพาะถิ่นกันมาช้านานแล้ว มีลักษณะแปลกคือ รูปทรงของผลจะเล็กยาวดูคล้ายนิ้วจระเข้มาก จึงถูกเรียกชื่อตามลักษณะว่า "กล้วยนิ้วจระเข้ยักษ์" เพราะติดเครือขนาดใหญ่นั่นเอง ส่วนรสชาติของ "กล้วยนิ้วจระเข้ยักษ์" จะหวานหอมเหมือนกับรสชาติกล้วยหอมทั่วไป แต่จะไม่หวานมากนัก ปัจจุบันมีผู้ขยายพันธุ์นำเอาหน่อและต้นของ "กล้วยนิ้วจระเข้ยักษ์" ออกวางขาย จึงแนะนำให้รู้จักอีกตามระเบียบ

กล้วยนิ้วจระเข้ยักษ์ จัดเป็นกล้วยในกลุ่มที่เป็นพันธุ์ของกล้วยป่า หรือพันธุ์ที่ได้กลายพันธุ์ไปจากพันธุ์แท้แต่ยังมีลักษณะพันธุ์แท้อยู่มาก มีลำต้นเทียม สูง 2.5-3 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 15 ซม. กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง มีปื้นดำ ด้านในสีชมพูอมแดง

ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับปลีรูปไข่ค่อนข้างยาว ม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้านบนเป็นสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีแดงซีด เครือหนึ่งมี 7–8 หวี หวีหนึ่งมีผล 10–16 ผล ผลมีรูปทรงกลมเล็ก โตประมาณกล้วยเล็บมือนาง แต่จะมีความยาวกว่าถึงสองเท่า และรอบผลจะมีเหลี่ยมสันสี่สันแต่ละผลเรียงกันเป็นระเบียบ และ ผลจะชี้ตรงตั้งฉากกับเครือทำให้ดูคล้ายนิ้วของจระเข้ตามที่กล่าวข้างต้น

ผลดิบ เป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลือง รสชาติหวานหอมเหมือนกับรสชาติของกล้วยหอมทั่วไป จะมีความหวานน้อยกว่า เนื้อสุกไม่เละ รับประทานอร่อยมาก ในสมัยโบราณนิยมปลูก "กล้วยนิ้วจระเข้ยักษ์" เพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือนเท่านั้น ไม่นิยมปลูกเพื่อเก็บผลขายเหมือนกล้วยหอม หรือกล้วยน้ำว้า ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ

ปัจจุบัน "กล้วยนิ้วจระเข้ยักษ์" ปลูกได้ในดิน ทั่วไป ขุดหลุมลึกและกว้างพอเหมาะกับหน่อหรือต้นที่จะปลูก นำต้นลงปลูกกลบดินให้แน่น หากปลูกช่วง ฤดูฝนไม่ต้องดูแลอะไรนัก ปลูกฤดูแล้งรดน้ำบ้างเล็กน้อยวันหรือสองวันครั้ง เมื่อต้นโตจนติดเครือ และผลแก่จัดตัดเครือจากต้นแล้ว ควรตัดต้นทิ้งด้วย เพื่อให้แทงหน่อใหม่และต้นใหม่ขึ้นมาแทนต้นเก่าพร้อมมีเครือและผลให้เก็บรับประทานตามฤดูกาลครับ.

กล้วยร้อยหวี

                                                         กล้วยร้อยหวี




“กล้วยร้อยหวี” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Musa chiliocarpa Back. อยู่ในวงศ์ Musaceae มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กล้วยงวง ช้าง” มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอินโดนีเซีย เป็นไม้ล้มลุก มีขนาดเล็กกว่าต้นกล้วยน้ำว้าที่พบเห็นกันได้ทั่วไป ลำต้นสูงราว 2-3 เมตร




ดอกออกที่ปลายต้น ซึ่งช่อดอกมีดอกหนาแน่นมาก ใช้เวลา 6 เดือนจึงตกเป็นปลีห้อยลงมา และทยอยออกผลเป็นหวีกล้วยขนาดเล็กราวร้อยหวี แต่ละหวีมีผลประมาณ 10-15 ผล เครือหนึ่งมีความยาวราวเมตรกว่าๆ ถึงสองเมตร มีลักษณะคล้ายงวงช้าง เมื่อรวมจำนวนกล้วยทั้งหมดในหนึ่งเครือตกราว 1,000 กว่าผล แต่หากเป็นเครือที่สมบูรณ์มากๆ ก็อาจให้ผลถึงสองร้อยหวีทีเดียว ผลของกล้วยชนิดนี้มีขนาดเล็ก เนื้อน้อย แต่มีเมล็ดมาก และจะออกผลเพียงปีละครั้งเท่านั้น เพราะระยะเวลาในการเป็นหวีกล้วยเล็กๆ จนสุดเครือ นั้นยาวนานมากราว 9-12 เดือน เมื่อออกผลแล้วก็จะตายไป แต่สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยหน่อ

แม้ว่าจะมีจำนวนผลมาก แต่ความที่มีเมล็ดมากและเนื้อน้อย จึงไม่นิยมนำมารับประทาน เพียงปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อความแปลกตาและสวยงาม ส่วนประโยชน์ทางพืชสมุนไพรของกล้วยร้อยหวี ก็มีเช่นเดียวกันคือ ใช้ผลดิบทั้งเปลือกหั่นตากเเห้งป่นเป็นผงชงน้ำร้อน หรึอปั้นเป็นเม็ดรับประทานรักษาเเผลในกระเพาะอาหาร เเก้ท้องเสียเรื้อรัง เเผลเน่าเบื่อย เเผลติดเชื้อต่างๆ ส่วนเปลือกของผลสุกใช้ด้านในทาส้นเท้าเเตก หัวปลีเเก้โรคโลหิกจาง ลดน้ำตาลในเลือดเเก้โรคเบาหวาน ส่วนรากต้มดื่มเเก้ไข้ได้อย่างดี เป็นต้น



ปัจจุบัน กล้วยร้อยหวีแทบจะไม่ค่อยมีให้เห็นกันมากนัก อาจเป็นเพราะหาหน่อพันธุ์ยากก็เป็นได้ แต่เชื่อว่าถึงอย่างไรกล้วยพันธุ์นี้ก็ยังคงมีให้ชื่นชมอยู่ในโลกนี้อย่าง แน่นอน

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กล้วยไข่


กล้วยไข่


กล้วยไข่เป็นผลไม้ที่นิยมผู้บริโภคกันทั่วไป เนื่องจากมีรสชาติดี ลักษณะการเรียงตัวของผล
และสีผลสวยสะดุดตา ปัจจุบันส่งออกจำหน่ายต่างประเทศมากขึ้น ตลาดที่สำคัญคือ จีน
และฮ่องกงกล้วยไข่เป็นพืชที่สามารถปลูกได้แทบทุกภาคของประเทศ ในพื้นที่ปลูกที่มีการจัดการการผลิตเพื่อให้ได้ทั้งปริมาณ และผลผลิตตรงตามมาตรฐานคุณภาพ ตลาดต้องการ
 ปัญหาสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพของผลผลิตคือ การปนเปื้อนของ สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
 ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาต่อสุขอนามัยของผู้บริโภค ตลอดจนการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมในระยะยาว ดังนั้นกระบวนการผลิตจึงต้องมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสม

แหล่งปลูกที่เหมาะสม

สภาพพื้นที่:
- พื้นที่ดอน หรือพื้นที่ราบ ไม่มีน้ำท่วมขัง
- ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,200 เมตร
- มีแหล่งน้ำธรรมชาติ หรืออยู่ในเขตชลประทาน
- การคมนาคมสะดวก

ลักษณะดิน:
- ดินร่วน, ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนปนทราย
- มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี
- ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 75 เซนติเมตร
- ค่าความเป็นกรดด่างของดินระหว่าง 5.0-7.0

สภาพภูมิอากาศ:
- อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ระหว่าง 25-35 องศาเซนเซียส
- ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,200 มิลลิเมตรต่อปี
- ไม่มีลมแรงพัดผ่านเป็นประจำ
- มีแสงแดดจัด

แหล่งน้ำ:
- มีน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูปลูก
- เป็นแหล่งน้ำสะอาด ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำระหว่าง 5.0-9.0

พันธุ์
กล้วยไข่มี 2 สายพันธุ์ คือ กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร และกล้วยไข่พระตระบอง
พันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นการค้าคือ กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร
1. กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร
ลักษณะกาบใบเป็นสีน้ำตาลหรือช๊อกโกแลต ร่องก้านใบเปิดและขอบก้านใบขยายออก
 ใบมีสีเหลืองอ่อน ไม่มีนวล ก้านเครือมีขนขนาดเล็ก ผิวเปลือกผลบาง ผลเล็ก เนื้อมีสีเหลือง
รสชาติหวาน
2. กล้วยไข่พระตะบอง
ลักษณะกาบใบเป็นสีน้ำตาลปนดำ สีของใบเข้มกว่าสายพันธุ์กำแพงเพชร รสชาดจะออกหวานอมเปรี้ยว และผลมีขนาดใหญ่กว่ากล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร

การปลูก

การเตรียมดิน:
- วิเคราะห์ดิน เพื่อประเมินค่าความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืชในดิน และความเป็นกรดด่าง
ของดิน ปรับสภาพดินตามคำแนะนำก่อนปลูก
- ไถพรวน ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อลดการระบาดของศัตรูพืช
- คราดเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลง

ฤดูปลูก:
- ช่วงเวลาการปลูก ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ประมาณเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน

วิธีการปลูก:
- ปลูกด้วยหน่อใบแคบที่มีความสมบูรณ์ดี
- เตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร
- รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกอัตรา 5 กิโลกรัมต่อหลุม คลุกเคล้ากับหน้าดินรองก้นหลุมปลูก
ถ้ามีการไว้หน่อ (ratoon) เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อไปอีก 1-2 รุ่น ควรรองก้นหลุมด้วย หินฟอสเฟต อัตรา 100-200 กรัม/หลุม
- ระยะปลูก (1.5-1.75) x2 เมตร เป็นการปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเพียงครั้งเดียว แล้วรื้อ
ปลูกใหม่ 2x2 เมตรเป็นการปลูกสำหรับไว้ตอหรือหน่อ (ratoon) เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิต
ของหน่อ (ratoon) อีก 1-2 รุ่น
- การปลูก วางหน่อพันธุ์ที่หลุมปลูกให้ลึก 25-30 เซนติเมตร โดยจัดวางหน่อพันธุ์ให้ด้าน
ที่ติดกับต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน กลบดินลงหลุมปลูกและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น
แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

การดูแลรักษา

การพรวนดิน:
ภายหลังปลูกกล้วยไข่ประมาณ 1 เดือนควรรีบทำการพลิกดินให้ทั่วทั้งแปลงปลูก เพื่อให้ดิน
เก็บความชื้นจากน้ำฝนไว้ให้มากที่สุด และเป็นการกำจัดวัชพืชไปด้วย ขณะที่รากกล้วยยังขยาย
ไปไม่มากนัก

การกำจัดวัชพืช:
ควรกำจัดวัชพืชปีละ 3 ครั้ง ครั้งแรกพร้อม ๆ กับการพลิกดิน ส่วนครั้งที่ 2 และ 3 ให้พิจารณา
 จากปริมาณวัชพืช แต่จะทำก่อนที่ต้นกล้วยตกเครือ

การให้ปุ๋ย:
ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ครั้ง เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก่อนปลูกอัตรา 3-5 กิโลกรัมต่อหลุม ใส่ปุ๋ยเคมี 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 และ 2 เป็นระยะที่กล้วยมีการเจริญเติบโตทางลำต้น ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-10 หรือ
15-15-15 อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง หลังจากปลูก 1 และ 3 เดือน การให้ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 3
และ 4 จะให้ปุ๋ยเคมีภายหลังจากปลูก 5 และ 7 เดือน ซึ่งเป็นระยะที่กล้วยใกล้จะให้ผลผลิต
จะให้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-12-24, 13-13-21 หรือ 14-14-21 อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง
วิธีการใส่ปุ๋ยเคมี โรยห่างจากต้นประมาณ 30 เซนติเมตร หรือใส่ลงในหลุมลึกประมาณ 10 เซนติเมตร 4 ด้าน แล้วพรวนดินกลบ

การให้น้ำ:
ในฤดูฝน เมื่อฝนทิ้งช่วง เมื่อสังเกตหน้าดินแห้งและเริ่มแตก ควรรีบให้น้ำ
ในฤดูแล้งเริ่มให้น้ำตั้งแต่หมดฝน ประมาณปลายเดือนมกราคม-พฤษภาคม

วิธีการให้น้ำ:
ใช้วิธีปล่อยให้น้ำไหลเข้าไปในแปลงย่อยเป็นแปลง ๆ เมื่อดินมีความชุ่มชื้นดีแล้ว
 จึงให้แปลงอื่นต่อไป
เทคนิคที่ควรทราบ

การพูนโคน:
โดยการโกยดินเข้าสุมโคนกล้วย ช่วยลดปัญหาการโค่นล้มของต้นกล้วยเมื่อมีลมแรง
โดยเฉพาะต้นตอที่เกิดขึ้นระยะหลังโคนจะลอยขึ้นทำให้กล้วยโค่นล้มลงได้ง่าย

การแต่งหน่อ:
เครื่องมือที่ใช้ในการแต่งหน่อ คือ มีดยาวปลายขอ ชาวบ้านเรียกว่า มีดขอ การแต่งหน่อทุกครั้ง
 โดยเฉือนเฉียงตัดขวางลำต้นเอียงทำมุม 45 องศากับลำต้นโดยครั้งแรก เฉือนให้รอบเฉือนด้านล่างอยู่สูงจากโคนต้นประมาณ 4-5 นิ้ว หลังจากนั้นอีกประมาณ 20-30 วัน จึงเฉือนหน่อครั้งที่ 2
ให้รอบเฉือนครั้งใหม่อยู่ทิศทางตรงข้าม กับรอยเฉือนครั้งก่อน และให้รอยเฉือน มุมล่างสุด
ครั้งใหม่อยู่สูงจากรอยเฉือนมุมบนครั้งก่อน 4-5 นิ้ว แต่งหน่อเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนถึงเวลาที่
เหมาะสม ก็จะปล่อยหน่อให้เจริญเติบโตเป็นกล้วยตอต่อไป หรืออาจขุดหน่อไว้ สำหรับปลูกใหม่
หรือขายก็ตาม

การตัดแต่งและการไว้ใบ:
การไว้ใบกล้วยไข่ในระยะต่าง ๆ มีผลอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโต การปฏิบัติดูแลรักษาปัญหาโรค และแมลง ตลอดจนผลผลิต และคุณภาพผล
ในช่วงแรกระยะการเจริญเติบโต ควรไว้จำนวน 12 ใบ ถ้ามากกว่านี้ จะมีปัญหาทำให้การปฏิบัติดูแลรักษาทำได้ยากลำบาก โรคแมลงจะมากขึ้นเกิดการ แย่งแสงแดด ลำต้น จะสูงบอบบางไม่แข็งแรง เกิดการหักล้มได้ง่าย ในทางตรงข้ามถ้าจำนวนใบ มีน้อยเกินไปจะทำให้การเจริญเติบโต ไม่ดี ลำต้นไม่สมบูรณ์ ดินสูญเสียความชื้นได้เร็ว ปัญหาวัชพืชจะมากขึ้นภายหลัง
กล้วยตกเครือแล้ว ควรตัดแต่งใบออก เหลือไว้เพียงต้นละ 9 ใบก็พอ ถ้าเหลือใบไว้มากจะทำให้ต้นกล้วยรับน้ำหนักมาก จะทำให้เกิดการหักล้มได้ง่าย ระยะกล้วยมีน้ำหนักเครือ มากขึ้น และถ้าหากตัดแต่งใบออกมากเกินไป เหลือจำนวนใบไว้น้อย จะทำให้บริเวณคอเครือและผลกล้วยถูกแสงแดดเผา เป็นเหตุให้กล้วยหักพับบริเวณ คอเครือก่อนเก็บเกี่ยว และผลเสียหายไม่สามารถนำไปขายได้

การค้ำเครือ:
เมื่อกล้วยตกเครือจะมีน้ำหนักมาก จึงควรป้องกันลำต้นหักล้ม ซึ่งกระทำได้โดยการปักหลัก ผูกยึดติดกับลำต้น
การปักหลักต้องปักลงไปในดินให้แน่นทิศทางตรงข้ามกับเครือกล้วยให้แนบชิดกับลำต้นกล้วยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผูกยึดลำต้นกล้วยให้ตรึงกับไม้หลักสัก 3 ช่วง ดังนี้ คือบริเวณช่วงโคนต้น กลางต้น และคอเครือ โดยใช้ปอกล้วยหรือปอฟางก็ได้ ถ้าใช้ไม้รวกสำหรับค้ำเครือควรจะนำไปแช่น้ำ 15-20 วัน เสียก่อนแล้วนำมาตากแดดให้แห้งจึงค่อยนำไปใช้

การตัดปลี:
กล้วยไข่ที่มีการเจริญเติบโตและสมบูรณ์ หลังจากปลูก 7-8 เดือนก็จะแทงปลี แต่ถ้าการเจริญเติบโตและความสมบูรณ์ไม่ดี การแทงปลีก็จะช้าออกไปอีก ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มแทงปลีจนถึงปลีคล้อยตัวลงมาสุดจะใช้เวลาประมาณ 7 วัน หลังจากนั้นปลีจะบาน ระยะเวลาตั้งแต่ปลีเริ่มบานหวีแรกจนสุด หวีสุดท้ายจะใช้เวลาอีกประมาณ 7 วัน รวมระยะเวลาตั้งแต่ออกปลี จนสามารถตัดปลีทิ้งประมาณ 15 วัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นกล้วยและช่วงฤดูที่กล้วยตกปลี

การเก็บเกี่ยว
ปกติหลังจากตัดปลีแล้วประมาณ 45 วัน เป็นเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยว ถ้าปล่อยไว้นานกว่านี้ผลกล้วยอาจแตก และสุกคาต้น หรือที่ชาวสวนเรียกว่ากล้วยสุกลม รสชาติไม่อร่อย สีและผิวกระด้างไม่นวลสวยเหมือนที่นำไปบ่ม
กล้วยไข่ที่ตกเครือในช่วงฤดูหนาว ซึ่งผลจะแก่ช้ามีผลทำให้อายุการเก็บเกี่ยวต้องยาวนานออกไปถึง 50-55 วัน หลังตัดปลี

กล้วยตานีดำ

กล้วยตานีดำ




ผู้อ่านจำนวนมากสงสัยว่า "กล้วยตานีดำ" มีความแตกต่างกับกล้วยตานีธรรมดาทั่วไปอย่างไร และทำไมจึงเรียกว่า "กล้วยตานีดำ" ผลรับประทานได้หรือไม่ ซึ่งความจริงแล้ว "กล้วยตานีดำ" ก็คือกล้วยตานีทั่วไปนั่นเอง เพียงแต่ลำต้นเป็นสีดำ ก้านใบและเส้นกลางใบเป็นสีดำด้วย จึงถูกเรียกชื่อว่า "กล้วยตานีดำ" ส่วนผลมีลักษณะเหมือนกับผลกล้วยตานีทั่วไปทุกอย่าง เวลาลำต้นเป็นสีดำสนิทจะดูแปลกตาและน่าชมยิ่ง ส่วนใหญ่จะนิยมปลูกเพื่ออวดความแปลกและหายากเท่านั้น

กล้วยตานีดำ ไม่ทราบแหล่งกำเนิดแน่นอน มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกล้วยตานีทั่วไปคือ MUSA BALBISIANA COLLA ลำต้นเทียมสูง 3.5-4 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นโตเต็มที่ประมาณ 20 ซม. ลำต้นหรือกาบหุ้มลำต้นเป็นสีดำอมม่วง ไม่มีนวล ก้านใบ เส้นกลางใบเป็นสีดำอมม่วง ไม่มีร่อง (กล้วยตานีทั่วไปเป็นสีเขียว) ใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวสด

ก้านช่อดอก เป็นสีดำอมม่วง ไม่มีขน ใบประดับปลีเป็นรูปค่อนข้างป้อม มีความกว้างมาก ปลายมน ด้านบนสีแดงอมม่วง มีนวล ด้านล่างสีแดงเข้มสดใส เมื่อใบประดับกางขึ้นจะตั้งฉากกับช่อดอก ไม่ม้วนหรืองอ ใบประดับแต่ละใบจะซ้อนกันลึก เครือหนึ่งมีประมาณ 8 หวี หวีหนึ่งมี 10-14 ผล

ผล รูปทรงป้อมขนาดใหญ่ หรืออ้วน ผลมีเหลี่ยมชัดเจน ลักษณะคล้ายกับผลกล้วยหักมุก แต่ปลายผลจะทู่กว่า ก้านผลยาว เมื่อผลสุกเป็นสีเหลือง เนื้อรสหวาน มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีขนาดใหญ่ ซึ่งแม้ผลสุก ของ "กล้วยตานีดำ" หรือ กล้วยตานีทั่วไปจะมีรสหวานหอม แต่ไม่นิยมรับประทาน เนื่องจากมีเมล็ดมากนั่นเอง ติดเครือและผลปีละครั้ง ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ ไม่นิยมเพาะด้วยเมล็ด เพราะโตช้า

ประโยชน์ ผลดิบที่เมล็ดยังไม่แก่หรือแข็งปรุงเป็นส้มตำ เรียกว่า "ตำกล้วยตานี" ผลสุกกินสดได้ หยวก ปลี ทำส้มตำได้เช่นกัน หรือเอาไปแกงใส่ไก่ ปลา ผัด และลาบ รสชาติอร่อยมาก ทางยา ใบแห้งต้มน้ำอาบรวมกับใบมะขามแก้ผดผื่นคัน ผลอ่อนฝานเป็นแว่นๆ ตากแห้งบดกินแก้ท้องเสีย ยางใช้ ห้ามเลือด การใช้สอยอื่นๆ กาบลำต้นใช้ทำเชือก ต้นแกะสลักลวดลาย ใบห่อขนม ทำบายศรีในพิธีต่างๆครับ.

กล้วยเล้บมือนาง

กล้วยเล็บมือนาง

ลักษณะทั่วไป ลำต้น ขนาดเล็กและเตี้ยกว่ากล้วยพันธุ์ทั่วไป กล้วยชนิดนี้คล้ายต้นกล้วยไข่แต่มีสีอมแดง

  ใบ ค่อนข้างแคบและสั้น ก้านใบมักชูกตรงขึ้น แต่เอียงเป็นมุมแยกห่างออกจากกัน สันของก้านใบส่วนล่างเป็นแถบสีแดง (กล้วยหอมจันทร์มีสีแดงทั่วทั้งส่วนล่างของก้านใบ)

  ผล
ของกล้วบเล็บมือนางมีขนาดประมาณนิ้วมือทั้งความยาวและกว้าง ปลายผลเรียว ผลเรียงติดกันคล้ายนิ้วมือ ผลค่อนข้างโค้งงอ เนื้อผลสุกแล้วหอมหวานคล้ายกล้วยหอมจันทร์ แต่กล้วยเล็บมือนางเนื้อแน่นมาก ชวนรับประทานมากกว่า และมีหน่อดกคล้ายกล้วยตานี

 


ต้นกล้วยเล็บมือนาง



กล้วยเล็บมือนาง








กล้วยเล็บมือนาง


นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย กล้วยเล็บมือนางนิยมปลูกกันทั่วไป
จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ลงไปทั่วภาคใต้ มีการนำไปปลูกภาคอื่นบ้าง
แต่ไม่มากนัก



ประโยชน์และความสำคัญ ผลอ่อน
ใช้แกงส้มแกงคั่ว แกงกะทิ ผลสุก
ใช้รับประทาน และสามารถแปรรูปเป็นกล้วยแช่อิ่ม และกล้วยตากน้ำผึ้ง ซึ่ง
มีสรพพคุณในแง่ของยาอายุวัฒนะ



กล้วยเล็บมือนาง

กล้วยหิน

กล้วยหิน


 
       กล้วยหิน ชื่อสามัญเขาเรียกกันว่า “Saba” ชื่อทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า “Musa (ABB Group) โดยมีแหล่งกำเนิด ณ สองฝั่งแม่น้ำปัตตานีเขตพื้นที่หมู่บ้านเรือขุด ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลากล้ายหิน เดิมเป็นพืชเก่าแก่คู่ 2 ฝั่งแม่น้ำปัตตานีโดยเฉพาะใขเขตตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา มีกล้วยหินขึ้นหนาแน่นเป็นดงกล้วยหินเลยทีเดียว คนนอกพื้นที่จากถิ่นอื่นเมื่อได้พบเห็นมักจะเข้าใจว่าเป็นกล้วยป่าที่งอกเจริญเติบโตขึ้นเองตามธรรมชาติเข้าใจเป็นกล้วยที่ไม่มีคุณค่าประโยชน์อันใด แท้ที่จริงแล้วกล้วยหินเป็นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นในอำเภอบันนังสตาเกษตรกรจะมีรายได้จากการปลูกกล้วยหินมาก ผลผลิตมีไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด จนทำให้ราคาผลผลิตสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากหวีละ 2-3 บาท เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ปัจจุบันราคาสูงขึ้นเป็นหวีละ 20-30 บาท
ทั้งนี้เพราะกล้วยหินใช้เป็นทั้งอาหารคน และอาหารนก โดยเฉพาะนกปรอด หรือ นกกรงหัวจุก ซึ่งชาวไทยมุสลิมในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส นิยมเลี้ยงกันมาเฉพาะจังหวัดยะลา เกษตรกรไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของครัวเรือนเกษตรกรทั้งหมด มีการเลี้ยงนกกรงหัวจุก เฉลี่ยครัวเรือนละ 2-4 ตัว โดยใก้กินกล้วยหินเป็นอาหาร เพราะกล้วยหินเป็นกล้วยที่มีลักษณะคล้ายกับกล้วยน้ำว้า แต่จะมีลักษณะที่แบน และเป็นเหลี่ยมกว่ามาก ปกติกล้วยน้ำว้าเราจะให้กินวันต่อวัน แต่กล้วยหินนั้นสามารถใส่ให้นกกินได้หลายวันโดยที่กล้วยไม่บูดเน่าเสีย นกกรงหัวจุกก็จะกินกล้วยหินตัวละครึ่งผลวันละ1-2 ผล ต่อครัวเรือน ฉะนั้นยะลาจังหวัดเดียว ซึ่งมีครัวเรือนเกษตรกร 48,071 ครัวเรือนใช้กล้วยหินเลี้ยง นกกรงหัวจุดวันละประมาณ 36,000 ผล หรือ 2,400 หวีต่อวัน
เหตุไฉนใครๆ จึงเรียกว่า “กล้วยหิน”จากการที่หลายคนวิเคราะห์ว่า เหตุที่ชื่อว่า “กล้วยหิน” นั้นเพราะว่ากล้วยหิน มีเนื้อแน่นเหนียวกว่ากล้วยอื่นๆ แต่ผู้เฒ่าหลายคนบอกว่ากล้วยหินที่พบครั้งแรกมักจะขึ้นบริเวณกรวดหิน 2 ฝั่งลำแม่น้ำปัตตานีซึ่งกล้วยอื่นไม่ชอบขึ้น ณ พื้นที่ดังกล่าวจึงเรียกกล้วยชนิดนี้ว่ากล้วยหิน จนปัจจุบันนี้

กล้วยหอม

กล้วยหอม







แหล่งปลูกที่เหมาะสมในการปลูกกล้วยหอมมีสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ที่น้ำไม่ท่วมขัง มีการระบายน้ำได้ดีมีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดฤดูปลูก มีความอุดมสมบูรณ์ ความเป็นกรด-ด่าง 4.5-7.5
เป็นพื้นที่ที่ไม่มีลมแรง หรือเลือกพื้นที่ที่มีแนวกันลม อุณหภูมิเหมาะสมกับการเจริญเติบโต ประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส ไม่ควรต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ลำต้นเทียมสูง 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 20 เซนติเมตร ตามลำต้นด้านนอกมี ประดำเล็กน้อย ด้านในสีเขียวอ่อน และมีเส้นลายสีชมพู
ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้าง และมีปีก เส้นกลางใบสีเขียว
ดอก ก้านช่อดอกมีขนใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง มีไข ด้านในสีแดงซีด
ผล เครือหนึ่งมี 4-6 หวี หวีละ 12-16 ผล ปลายผลมีจุกเห็นชัด เปลือกบาง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง แต่ที่ปลายจุกจะมีสีเขียว แล้วเปลี่ยนสีภายหลัง เนื้อสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม รสหวาน

พันธุ์
พันธุ์ที่นิยม คือ กล้วยหอมทอง (AAA Group) ให้ผลผลิตสูง รสชาติดี และผลโต
การปลูก

การเตรียมดิน :
ไถดะ 1 ครั้ง ตากดินแล้วไถพรวน 1-2 ครั้ง ให้ดินร่วนซุย ไม่มีวัชพืช ถ้ามีวัชพืชมากกว่าร้อยละ 20 ต้องไถพรวนใหม่

การเตรียมหลุมปลูก:
- ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 2x2 เมตร
- ขนาดหลุมปลูก กว้าง ยาว ลึก 30x30x30 เซนติเมตร
- รองก้นหลุมด้วยดินผสมปุ๋ยอินทรีย์ ด้วย 5 กิโลกรัมต่อหลุม

การเตรียมพันธุ์และการปลูก:
- ใช้หน่อพันธุ์ที่สมบูรณ์ ปราศจากศัตรูพืช มีความยาวหน่อ 25-35 เซนติเมตร มีใบแคบ 2-3 ใบ
- วางหน่อพันธุ์ที่ก้นหลุม จัดวางให้ด้านที่ติดต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้มีการออกดอกไปในทิศทางเดียวกัน และสะดวกในการดูแลรักษา
- กลบดินและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น คลุมดินด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง และรดน้ำให้ชุ่ม

การดูแลรักษา

การให้น้ำ:
ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก เมื่อหน้าดินแห้งต้องให้น้ำ (โดยเก็บตัวอย่างดินจากผิวดินลึก15 เซนติเมตร กำเป็นก้อน ถ้าแบมือแล้วแตกร่วงควรให้น้ำเพิ่มแก่ต้นกล้วย)

การให้ปุ๋ย:
- ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 และ 2 เมื่อกล้วยหอมอายุ 1 และ 3 เดือน ด้วยสูตร 20-10-10 หรือ 15-15-15 หรือสูตร ใกล้เคียงอัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง
- ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 และ 4 เมื่ออายุ 5 และ 7 เดือน ด้วยสูตร 13-13-21 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก) ปีละ 1-2 ครั้ง

การแต่งหน่อ:
หลังจากปลูกกล้วยประมาณ 5 เดือน ให้แต่งหน่อ เพื่อให้ต้นแม่มีความสมบูรณ์

การค้ำยันต้น:
ต้องใช้ไม้ค้ำยันหรือดามกล้วยทุกต้น ที่ออกปลีแล้ว เพื่อป้องกันลำต้นหักล้ม และตรวจดูการค้ำยันให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง

การหุ้มเครือ และตัดใบธง:
การหุ้มเครือกระทำหลังจากตัดปลีไม่เกิน 15 วัน เพื่อให้ผิวกล้วยสวย และป้องกันแมลงทำลายด้วยถุงพลาสติกสีฟ้า แบบเปิดด้านล่าง โดยหุ้มทั้งเครือ และหุ้มทุกเครือ ส่วนการตัดใบธง ตัดเมื่อใบธงเริ่มหักก่อนที่จะเสียดสีกับผิวกล้วย

โรคที่สำคัญ
โรคตายพราย (Panama disease)
เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f. cubense
อาการ:
มักเป็นกับกล้วยที่มีอายุ 4-5 เดือนขึ้นไป ลักษณะอาการของกล้วยที่เพิ่งจะเป็นโรคนี้ สังเกตเห็นได้ยาก เนื่องจากเชื้อของโรคจะทำลายลำต้นด้านรากก่อน และเจริญอย่างรวดเร็วไปตามท่อน้ำของลำต้น อาการในช่วงนี้จะสังเกตเห็นเป็นทางสีเหลืองอ่อนตามก้านใบของใบล่างหรือใบแก่ ปลายหรือขอบใบจะเริ่มเหลืองและขยายไปอย่างรวดเร็วจะเหลืองหมดทั้งใบ ใบอ่อนจะมีสีเหลืองไหม้หรือตายนึ่ง และบิดเป็นคลื่นในที่สุดจะหักพับตรงบริเวณโคนก้านใบ ส่วนใบยอดอาจจะเหลืองตั้งตรงเขียวอยู่ในระยะแรก แต่ในที่สุดก็จะแห้งตายไปเช่นกัน
อาการที่บริเวณลำต้น โดยเฉพาะตรงส่วนโคนต้นหรือเหล้าของกล้วย เมื่อผ่าดูภายในจะพบแผลเน่าเป็นจุดสีเหลืองอ่อนจนถึงน้ำตาลแก่หรือแดงส้ม และมีกลิ่นเหม็น ส่วนบริเวณลำต้นที่เรียกว่า กาบกล้วย เมื่อนำมาตัดขวางจะพบเป็นรอยช้ำ เน่า สีน้ำตาลเข้มหรือดำ อาการดังกล่าวจะค่อย ๆ ลามเข้าไปข้างในต้นกล้วยจะยืนต้นแห้งตาย หากเป็นกล้วยที่ให้ผลแล้ว เครือจะเหี่ยวผลลีบเล็กไม่สม่ำเสมอ และแก่ก่อนกำหนด เนื้อจะจืดซีดและเปลี่ยนเป็นสีดำ
การป้องกันกำจัด:
- คัดเลือกหน่อพันธุ์กล้วยจากบริเวณที่ไม่เป็นโรคไปปลูก
- มีการปรับสภาพของดินที่เป็นกรดโดยการใส่ปูนขาว อัตราที่ใช้ประมาณไร่ละ 4-5 ตัน
- หมั่นทำความสะอาดแปลงปลูกและเครื่องมือเครื่องใช้อยู่เสมอ เนื่องจากเชื้อชนิดนี้สามารถแพร่ กระจายได้ง่าย
- ทำลายต้นกล้วยที่เป็นโรค โดยการสุมไฟเผาหรือขุดหลุมฝังให้ลึกอย่างน้อย 3-4 ฟุต
- หลักเลี่ยงการปลูกในหลุมเดิมที่เคยปลูกมาแล้ว
- ควรลดธาตุไนโตรเจนให้น้อยลง การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากจะทำให้พืชอ่อนแอเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย
- ทำความสะอาดโคนกอกล้วยอย่าให้เกิดรกรุงรัง และทำทางระบายน้ำให้ดี และราดโคนต้นให้ชุ่มด้วย สารเคมี เช่น แคปแทน 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

โรคใบจุด
เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น Cecospora musae, Phyllosticma musarum, Guignardia musae ฯลฯ
ลักษณะอาการ:
เมื่อเริ่มเป็นจะเป็นจุดขนาดเล็ก สีเหลือง สีแดง ดำ หรือน้ำตาลขึ้นอยู่กับเชื้อสาเหตุ แล้วจะขยายใหญ่ขึ้น ทำให้กล้วยชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง ผลสุกก่อนกำหนด รสชาติหรือคุณภาพเสียไป
การป้องกันกำจัด:
ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น เบนโนมิล อัตรา 8 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือแคปแทน อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์เบนดาซิม อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นต้น
ตัดใบที่เป็นโรคมากออกมาเผาทำลาย

โรคใบเหี่ยว (Bacterial wilt)
เกิดจากเชื้อบักเตรี Pseudomonas solanacearum จะอยู่ทั้งในดินบริเวณโคนต้นและในส่วนของกล้วยเป็นโรค จะแพร่กระจายไปกับน้ำและติดไปกับหน่อพันธุ์
ลักษณะอาการ:
ใบกล้วยจะเป็นสีเหลือง เหี่ยวเฉา และอาจห้อยลงมา แต่เมื่อพบเห็นอาการนี้โรคจะอยู่ในระยะรุนแรงมากแล้ว โดยทั่วไปเมื่อโรคเริ่มเป็น จะพบว่าเนื้อเยื่อของกาบลำต้น เหง้า (ลำต้นแท้) ก้านใบ ก้านเครือ มีท่อน้ำท่ออาการถูกทำลาย เป็นสีน้ำตาล เมื่อผ่าออกจะมีของเหลวเหนียวเป็นยางไหลออกมา โรคนี้จะทำให้ต้นกล้วยค่อย ๆ ตายไป ถ้าเป็นในระยะออกเครือจะทำให้ผลอ่อนสุกก่อนกำหนด ขนาดเล็กเท่านิ้วมือปะปนกับผลอ่อนที่ยังเขียวอยู่ เมื่อเป็นในระยะต้นอ่อน ใบจะเป็นสีเหลืองมีขอบใบแห้งอยู่โดยรอบ แคระแกรน ไม่เจริญเติบโต
การป้องกันกำจัด:
ทำความสะอวดเครื่องมือเกษตร เช่น มีด จอบ เสียม ต้องระมัดระวังอย่าใช้มีดที่ตัดแต่งจากกล้วยกอหนึ่งไปยังอีกกอหนึ่ง เพราะจะเพิ่มการระบาดของโรค กล้วยที่เป็นโรคต้องขุดทิ้ง นำไปเผาไฟ แล้วราดหลุมด้วยฟอร์มาลิน 5 เปอร์เซ็นต์
แช่หน่อพันธุ์ปลูกด้วยฟอร์มาลิน 5 เปอร์เซ็นต์

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า
           กล้วยน้ำว้าเป็นกล้วยที่นิยมบริโภคในประเทศมีคุณค่าทางอาหาร เหมาะสมสำหรับการรับประทานทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ปลูกค่อนข้างง่าย

การปลูก

วิธีปลูก:
- ปลูกในช่วงฤดูฝน
- ปลูกด้วยหน่อใบแคบ หรือต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะปลูกเลี้ยงเนื้อเยื่อ
- เตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม.
- ผสมดินปุ๋ยคอกจำนวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟส จำนวน 50 กรัม เข้าด้วยกันใน หลุมให้สูง ประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
- ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุมโดยระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
- ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากหลุมทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
- ดึงถุงพลาสติกออกโดยระวังอย่าให้ดินแตก
- กลบดินที่เหลือลงในหลุม
- กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น
- คลุมดินบริเวณโคนต้นด้วยฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง
- รดน้ำให้ชุ่ม
ระยะปลูก:
2.5 x 3 เมตร , 2.5 x 2.5 เมตร
จำนวนต้นต่อไร่:
จำนวนต้นเฉลี่ย 200 ต้น/ไร่ , 250 ต้น/ไร่

การดูแลรักษา

การใส่ปุ๋ย:
ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 หรือ 15-15-15 อัตรา 1 กิโลกรัม ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 4 ครั้ง ๆ ละ 250 กรัม ดังนี้
ครั้งที่ 1 ใส่หลังปลูก 1 สัปดาห์ ใช้สูตร 15-15-15
ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งที่ 1 ประมาณ 3 เดือน ใช้สูตร 15-15-15
ครั้งที่ 3 ใส่หลังจากครั้งที่ 2 ประมาณ 3 เดือน ใช้สูตร 15-15-15
ครั้งที่ 4 ใส่หลังจากครั้งที่ 3 ประมาณ 3 เดือน ใช้สูตร 13-13-21

การให้น้ำ:
ปริมาณของน้ำนั้นขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ความชุ่มชื้นของดิน ปริมาณลมที่พัดผ่านจะทำให้การคายน้ำมาก จึงไม่ควรปล่อยให้ผิวหน้าดินแห้งติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากรากจะหาอาหารอยู่บริเวณผิวดิน จึงทำให้หยุดชะงักการเจริญเติบโต

การตัดแต่งหน่อ:
ตัดแต่งหน่อหลังจากปลูกประมาณ 3-4 เดือน จะมีหน่อขึ้นมารอบ ๆ โคนให้ตัด ไปเรื่อยจนกว่าจะเริ่มออกปลี หรือหลังปลูกแล้วประมาณ 7-8 เดือน ควรมีการไว้หน่อทดแทน 1-2 หน่อ โดยหน่อที่ 1 และที่ 2 ควรมีอายุห่างกันประมาณ 4 เดือน เพื่อให้ผลกล้วยมีความอุดมสมบูรณ์ โดย เลือกหน่อที่อยู่ในทิศทางที่ตรงกันข้าม

การตัดแต่งใบ:
ควรตัดแต่งใบช่วงที่ต้นเริ่มโตจนถึงเก็บเกี่ยว โดยเลือกใบแก่ และใบที่เป็นโรคออก ตัดให้เหลือประมาณ 7-12 ใบ เพื่อป้องกันต้นกล้วยโค่นช่วงออกปลี เพื่อใช้ใบปรุงอาหาร และเพิ่มความเจริญเติบของผลกล้วย
การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวกล้วยระยะใดขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการขนส่ง หากขนส่งไปขายไกล ๆ อาจตัดกล้วยเมื่อความแก่ประมาณ 75% การดูลักษณะความอ่อนแก่ของกล้วย อาจดูจากลักษณะผล เช่น ดูขนาดลูกกล้วย เหลี่ยมกล้วย หรือใช้วิธีการนับอายุจากวันแทงปลี หรือวันตัดปลีในการตัดจะต้องพิจารณาถึงต้นสูงหรือเตี้ย ถ้าสูงก็ให้ตัดบริเวณโคนต้น เพื่อให้ต้นเอียงลงมา โดยให้อีกคนหนึ่งจับหรือรับเครือกล้วยไว้ จะต้องเหลือก้านให้ยาวพอสมควร นำไปยังโรงเรือนเพื่อคัดขนาดบรรจุต่อไป

การปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว
นำเครือกล้วยแขวนไว้บนราว ปล่อยให้ยางไหลจนแห้ง
ทำความสะอาดถูกผลหรือบริเวณปลายผลที่มีกลีบแห้งติดอยู่ออกให้หมf แยกเครือกล้วยออกเป็นหวี ๆ อย่างระมัดระวังอย่าให้รอยตัดช้ำ คัดเลือกผลที่มีรอยตำหนิ หวีที่ไม่ได้ขนาดออก จุ่มในน้ำผสมสารไธอาเมนตาโซล แล้วผึ่งลมหรือเป่าให้แห้ง บรรจุหีบห่อ/บรรจุลงเข่งโดยมีใบตองรอง เพื่อป้องกันบอบช้ำ

ชนิดของกล้วย

ชนิดของกล้วย
1 กล้วยสกุล Musa

ประวัติความเป็นมาของกล้วย

ประวัติความเป็นมาของกล้วย
              ในเอกสารโบราณกล่าวว่า  กล้วยเป็นผลไม้ของชาวอินเดีย  พบมีอยู่มากในแถบเอเชียตอนใต้  โดยเฉพาะทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย  พม่า  เขมร  จีนตอนใต้  หมู่เกาะอินโดนีเซีย  เกาะบอร์เนียว  ฟิลิปปินส์  และไต้หวัน
               กล้วยในประเทศที่กล่าวถึงนั้น  เป็นกล้วยป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ  ซึ่งต่อมาเมื่อมนุษย์สังเกตเห็นว่าสัตว์ต่างๆ  กินกล้วยเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงลองกินกล้วยดู  และเมื่อเห็นว่ากล้วยกินเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงเริ่มรู้จักวิธีการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด  หน่อ  ติดตัวไปยังสถานที่ที่อพยพไป  ทำให้กล้วยแพร่หลายไปยังถิ่นต่างๆ  มากยิ่งขึ้น  จนมีผู้กล่าวว่า  กล้วยเป็นอาหารชนิดแรกของมนุษย์  และเป็นพืชชนิดแรกที่มีการปลูกเลี้ยงไว้ตามบ้าน
               ในพระพุทธศาสนา  มีการวาดภาพต้นกล้วยในงานจิตรกรรม  ในภาพวาดเป็นการนำกล้วยไปสักการะพระเจ้ากาละ จีนโบราณมีการบันทึกไว้ว่า  มีกล้วยอยู่  12  ชนิด  ได้แก่  ปารู  กัน-เชียว  ยาเชียว  ปาเชียว  นันเชียว  เทียนเชียว  ชีเชียว  ชุงเชียว  เมเจนเชียว  โปโชวเชียว  ยังเชียวเชียว  ยูฟูเชียว  กล้วยเหล่านี้ปลูกมากที่กวางตุ้ง  ฟูเกียง  ฯลฯ กล้วยมีเส้นทางการเผยแพร่ราวกับนิยาย  เมื่อประมาณ  ปี  ค.ศ.200  บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนยังไม่มีการปลูกกล้วย  จนถึง  ค.ศ.650  เมื่อชาวอาหรับเดินทางติดต่อค้าขายกับแอฟริกา  พวกอาหรับได้นำกล้วยมาเผยแพร่ที่แอฟริกาด้วย ในราวศตวรรษที่  15  เมื่อชาวยุโรปเดินทางไปยังดินแดนต่างๆ  เพื่อ  การสำรวจและแสวงหาดินแดนใหม่  ณ  เวลานั้นปรากฏว่า  แถบชายฝั่งของแอฟริกาตะวันตก  ประชาชนนิยมปลูกกล้วยกันอย่างแพร่หลาย การเดินทางของกล้วยมิได้หยุดอยู่แค่นั้น  เพราะในปี  ค.ศ. 1400  ชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นนักเดินเรือผู้เก่งกล้าสามารถได้นำกล้วยไปยังหมู่เกาะคานารีด้วย ปัจจุบันหมู่เกาะคานารีเป็นแหล่งปลูกกล้วยที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก  หมู่เกาะนี้ในเวลาต่อมาได้รับการยกย่องว่าเป็นเกาะประวัติศาสตร์ของการแพร่พันธุ์กล้วยสู่โลกใหม่
ความเป็นมาของกล้วยในประเทศไทยในตอนแรกได้กล่าวไปบ้างแล้วว่า  กล้วยเป็นพืชเก่าแก่ที่อยู่คู่กับคนไทยมานานแสนนาน  และโดยทางประวัติศาสตร์แล้ว  ประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งถือว่าเป็นถิ่นกำเนิดสำคัญของกล้วยป่าขึ้นชุกชุม กล้วยที่ถือว่าเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของไทย เป็นกล้วยที่ขึ้นอยู่ในบริเวณภาคใต้ของไทย  ได้แก่  กล้วยไข่ทองร่วง  กล้วยเล็บมือนาง  เป็นต้น
ประเทศไทยมีกล้วยหลากหลายพันธุ์  และสันนิฐานกันว่า  คนไทยเป็นชนชาติที่อพยพมาจากจีนตอนใต้  ซึ่งจีนตอนใต้นี้มีอาณาเขตอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย   ดังนั้นการอพยพของคนไทยจึงเป็นไปได้ว่าได้นำพันธุ์กล้วยที่เป็นสายพันธุ์จากอินเดียและจีนนำติดตัวมาด้วย  ทั้งนั้นเพราะกล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่ายให้ผลเร็ว  เหมาะสำหรับนำติดตัวปลูกไว้เป็นอาหารยามขาดแคลน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เคยมีการสำรวจสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทย  พบว่ามีสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทยมากถึง 323  สายพันธุ์